กล้องวงจรปิดนครปฐม |
---|
เลขที่ 200 ซอยบรมราชชนนี 70 |
ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ |
เขตทวีวัฒนา กทม. 10170 |
โทร. 02-8883507-8 มือถือ 081-700-4715 |
แฟกซ์ 02-888-3199 |
E-mail : krittiwit@gmail.com |
Line id: mediasearch |
ติดต่อฝ่ายขาย |
เทคโนโลยี IPv6
เกือบจะทุกคนที่เคยใช้งานอินเทอร์เน็ต น่าจะคุ้นหูกับคำว่า IP Address กันมาบ้างแล้ว แล้วเคยทราบกันบ้างไหม ว่า IP Address ที่พูดถึงกันเป็นประจำคืออะไร IP Address ย่อมาจาก Internet Protocol Address เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ของเจ้าตัวคอมพิวเตอร์ที่ออนไลน์อยู่บนเครือข่าย เพื่อที่แต่ละคนที่ใช้งาน สามารถแยกแยะได้ว่า จะติดต่อกับใคร เหมือนกับบ้านเลขที่สำหรับใช้ส่งจดหมายนั่นเอง
โดยทั่วไป IP Address มีอยู่สองลักษณะด้วยกันคือ แบบที่เป็น Static IP คือจะเป็น IP Address ประจำสำหรับการใช้งานนั้นตลอดเวลา อีกแบบคือ Dynamic IP จะเป็นเลข IP ที่เปลี่ยนไป ทุกครั้งที่คุณเชื่อมต่อการใช้งานกับอินเทอร์เน็ต (dial-in หรือ login) แต่ละครั้ง ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC ซึ่ง ISP หรือองค์กรต่างๆ จะต้องทำเรื่องขอ IP Address จากหน่วยงานดังกล่าว
การเกิดขึ้นของ IPv6
ปัจจุบัน IP Address Version 4 ซึ่งเป็นมาตรฐานปัจจุบันที่เรากำลังใช้อยู่นั้นเหลือจำนวนน้อยลงทุกที เนื่องจากอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง และปัจจัยสำคัญอีกประการคือ แนวโน้มของการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต เช่น โทรศัพท์ มือถือ PDA เครื่องเล่นเกมส์ ตู้เย็น โทรทัศน์ ไมโครเวฟ ระบบกล้องวงจรปิด ฯลฯ จะมีความสามารถ ในการสื่อสารและเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์ ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ต่างก็ต้องการมี IP Address เป็นของตนเอง ทำให้ผู้เชี่ยวชาญต้องร่วมมือกันพัฒนา มาตรฐาน IPv6 ขึ้นมารองรับความต้องการในจุดนั้น บางท่านอาจจะมีคำถามว่า ทำไมถึงกลายเป็น Version 6 แล้ว Version 5 หายไปไหน คำตอบก็คือ Version 5 ได้ถูกใช้งานไปเรียบร้อยแล้วในขณะนี้ เนื่องจากในการทำงานของ IPv4 นั้น จะมีเจ้า IPv5 เป็นตัวแบคอัพนั่นเอง
การทำงานของ IPv4 (ถูกคิดค้นมาเกือบ 20 ปีแล้ว) มีที่มาจากเลขฐานสอง คือ เลข 0 กับ 1 เท่านั้น แต่การสื่อสารกันด้วยเลขสองตัวนี้อาจสร้างความสับสนให้กับผู้ที่สื่อสารได้ จึงมีการแบ่งเจ้าเลขฐานสองออกเป็นช่วง 4 ช่วง แล้วคั่นด้วย "." จากนั้นก็แปลงเป็นเลขฐานสิบ (เลข 0 ถึง 9) ที่เราคุ้นเคยกัน จึงมีหน้าตาแบบที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น 193.10.10.154 ซึ่งเจ้าตัวเลข 32 บิตที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น สามารถสร้าง Address ที่แตกต่างกันได้ทั้งหมดถึง 4.2 หมื่นล้าน Address แต่ปัจจุบันเราใช้งานเจ้าเลขพวกนี้กันอย่างเต็มที่จนไม่สามารถที่จะขยายออกไปได้อีกแล้ว
IPv6 จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาจำนวน IP Address ที่กำลังจะหมดไป และเพิ่มขีดความสามารถ บางอย่างให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น ความสามารถในด้าน Routing และ Network Autoconfiguration ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมาเป็น IPv6 ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ให้ทั้งสองเวอร์ชั่นสามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้งาน
การทำงานของ IPv6
IPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 128 บิต (ซึ่งมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า) ซึ่งเพื่อให้การสื่อสารเข้าใจง่ายขึ้น จึงมีการแปลงเป็นเลขฐาน 16 (คือเลข 0-9 และ a-f) ดังนั้นเลข IP ก็จะเป็นเลขฐาน 16 จำนวน 32 หลัก และใช้ ":" คั่นในแต่ละ 4 หลักของเลขฐาน 16 เราจึงจะเห็นหน้าตาของเจ้า IPv6 เป็นในลักษณะตัวอย่างดังต่อไปนี้ 3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566 (นี่เป็นหนึ่งสาเหตุที่ไม่ได้แปลงเป็นเลขฐานสิบเหมือนกับ IPv4 เพราะจะมีความยาวถึง 39 หลัก)
จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4
- - ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
- - เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
- - สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
- - มีระบบติดตั้ง Address อัตโนมัติ (Auto configuration)
- - ปรับปรุง Header เพื่อให้มีการประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- - เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัยให้มีมากขึ้นและดีกว่าเดิม
จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4
การยอมรับและนำมาใช้ของ IPv6 ทั่วโลก เนื่องจากอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ในอนาคตจะมีการพัฒนาขึ้นมาให้ใช้ IP Address เพื่อติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและทันสมัยให้กับการใช้ชีวิตของเราเพิ่มขึ้น เช่น การผลิตตู้เย็นที่รองรับมาตรฐาน Ipv6 จะช่วยให้ตู้เย็นสามารถสแกนได้ว่า อาหารใดกำลังจะหมดอายุ และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปยังร้านค้า เพื่อสั่งซื้อสินค้าได้โดยตรง ,การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดตามบ้างเรือนที่รองรับมาตรฐาน Ipv6 จะช่วยตรวจจับสิ่งไม่พึงประสงค์และเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อแจ้งเหตุการณ์ในทันที เป็นต้น
ดังนั้น ปัจจุบัน หลายๆ ประเทศได้แสดงเจตนารมน์ที่จะทำการอัพเกรดเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตให้เป็น IPv6 แล้ว เช่น กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้ประกาศว่า จะเลิกสั่งซื้ออุปกรณ์ เครือข่ายที่สนับสนุนมาตรฐานปัจจุบันและเปลี่ยนไปใช้มาตรฐาน IPv6 ในปี 2008 ในเอเชียเอง จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ก็ส่งสัญญาณว่าจะอัพเกรดเทคโนโลยีให้รองรับ IPv6 ได้เช่นเดียวกัน แต่ญี่ปุ่นคือผู้นำในด้านนี้ รัฐบาลมีโครงการ e-Japan ที่จะสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารกันได้ และยังมีการทดสอบโครงการทดลองใช้
IPv6 โดยมีการติดตั้งเครื่องมือตรวสอบสภาพอากาศและระบุตำแหน่งไว้บนรถแท็กซี่ทุกคัน เมื่อแท็กซี่วิ่งไปยังตำแหน่งใดจะทำให้ตรวจสอบได้ว่า บริเวณนั้นมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร มีฝุ่นละอองมากหรือไม่ ทำให้ทางการสามารถควบคุมสภาพของเมืองได้ง่ายขึ้น
สำหรับประเทศไทยเอง เนคเทคก็ให้ความสำคัญกับ IPv6 มีการจัดอบรมให้ความรู้กับนักพัฒนาระบบ วิศวกรระบบ ทั้งภาครัฐและเอกชน มีการจัดตั้งโครงการ Thailand IPv6 Testbed เพื่อให้ ISP และบริษัทต่างๆ ที่ตระหนักในเรื่องดังกล่าวได้ทดลองเชื่อมต่อและทดสอบโปรแกรม ซึ่งจะทำให้มีความรู้ความชำนาญกับเทคโนโลยีนี้มากขึ้น หากมีการปรับใช้มาตรฐานนี้ในอนาคตอีกด้วย
สนใจติดตั้งกล้องวงจรปิดหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องกล้องวงจรปิด เราพร้อมที่จะให้คำปรึกษาเรื่องกล้องวงจรปิด กับลูกค้าทุกท่าน สามารถติดต่อเราได้ที่ กล้องวงจรปิดนครปฐม โทร. 081-700-4715,089-203-1737 หรือ 034-306-500 www.กล้องวงจรปิดนครปฐม.com